วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

องค์ประกอบในการออกแบบ

      องค์ประกอบต่าง ๆ ของการออกแบบสามารถนำมาใช้ประกอบกันเมื่อเริ่มคิดแบบและวางเลย์เอ้าท์ เป็นสิ่งที่ช่วยให้มีจุดยืนในการเริ่มต้นออกแบบ และเพิ่มความหลากหลายของงาน องค์ประกอบของการออกแบบได้แก่

เส้น  (Line) เส้นคือการเชื่อมต่อของจุดสองจุดด้วยจุดหรือเครื่องหมายใด ๆ อย่างต่อเนื่องกัน  เส้นมีหลายลักษณะ เช่น เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นหนา เส้นบาง เส้นประ เป็นต้น

การใช้เส้นในงานออกแบบสิ่งพิมพ์
   • เป็นเส้นกรอบของรูปภาพหรือข้อความ
   • สร้างกริด (Grid)
   • จัดข้อมูลให้เป็นระเบียบ
   • เน้นส่วนสำคัญ
   • เชื่อมส่วนประกอบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
   • สร้างกราฟหรือผังข้อมูล
   • สร้างลวดลายด้วยเส้นสายรูปแบบต่าง ๆ
   • นำสายตาผู้ดูไปยังจุดที่ต้องการ หรือสร้างความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว
   • สร้างอารมณ์หรือโน้มนำความรู้สึก

รูปทรง (Shape) รูปทรงคือสิ่งที่มีความกว้างและความสูง มี 3 แบบคือ 
   1. รูปทรงเรขาคณิต  ได้แก่ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม เป็นต้น
   2. รูปทรงตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา รูปร่างของคนและสัตว์ต่าง ๆ
   3. รูปทรงดัดแปลงซึ่งได้มาจากการนำรูปร่างธรรมชาติมาทำให้เรียบง่ายขึ้น

การใช้รูปร่างในงานออกแบบสิ่งพิมพ์
   • จัดวางข้อความอยู่ภายในกรอบที่มีรูปทรงแบบต่าง ๆ
   • สร้างรูปแบบใหม่ ๆ
   • ใส่สีเป็นรูปทรงต่าง ๆ บนข้อความที่ต้องการเน้นหรือดึงดูดความสนใจ
   • ทำรูปทรงเฉพาะขึ้นแทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ
   • ตัดกรอบภาพเป็นรูปทรงที่แปลกออกไปเพื่อให้ดูน่าสนใจขึ้น

พื้นผิว (Texture) พื้นผิวคือสิ่งที่มองเห็นหรือสัมผัสได้บนผิวหน้าของงาน พื้นผิวที่ไม่เหมือนกันทำให้งานออกแบบเดียวกันดูแตกต่างกัน พื้นผิวจะเพิ่มมิติให้กับงาน และผู้ดูสามารถสัมผัสกับพื้นผิวที่นักออกแบบใช้กับงานได้

การใช้พื้นผิวในงานออกแบบสิ่งพิมพ์
   • เพื่อกระตุ้นอารมณ์และความรู้สึก
   • สร้างความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจ
   • ทำให้งานมีเอกลักษณ์
   • ลวงสายตาด้วยลวดลายและแสงเงาของพื้นผิว
   • สร้างมิติและความลึก

ช่องไฟ (Space) ช่องไฟคือพื้นที่ว่างที่อยู่ระหว่างหรือโดยรอบวัตถุ หรือตัวอักษร ช่องไฟทำให้สิ่งที่นำมาใส่ไว้ในหน้างานแยกออกจากกัน หรือดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้เกิดการเน้น และเป็นจุดพักสายตา

การใช้ช่องไฟในงานออกแบบสิ่งพิมพ์
   • ช่วยให้เรื่องราวในเลย์เอ้าท์ง่ายต่อการติดตาม
   • ช่วยให้แต่ละองค์ประกอบของงานดูเสมอกัน
   • เป็นจุดพักสายตา
   • ช่วยเน้นส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น ปล่อยให้มีช่องว่างรอบๆส่วนประกอบนั้นมากกว่าที่อื่น
   • ทำให้ตัวอักษรดูเด่นชัดขึ้น

ขนาด (Size) ขนาดของวัตถุทั้งใหญ่หรือเล็กเป็นส่วนประกอบกันที่ทำให้เลย์เอ้าท์มีรูปแบบขึ้นมา การจัดขนาดส่วนประกอบต่าง ๆ ได้ดีจะทำให้เลย์เอ้าท์น่าสนใจยิ่งขึ้นและดูเป็นระเบียบขึ้น ขนาดจะทำให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่ต้องการเน้น ช่วยดึงดูดความสนใจ และช่วยให้เลย์เอ้าท์ประกอบเข้าด้วยกันได้อย่างเหมาะสม

กราฟิกและการออกแบบ


     การออกแบบกราฟิกและสื่อเป็นขั้นตอนหนึ่งของการสร้างสรรค์งานที่เกี่ยวข้อง กับกระบวนการงานกราฟิก งานทางด้านสิ่งพิมพ์ โดยมีหลักการคิดและวิธีการดำเนินการที่ต้องอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการ สื่อความหมาย  หลักการทางศิลปะประยุกต์และทฤษฎีการรับรู้ทางจิตวิทยา การออกแบบงานกราฟิกจึงต้องกระทำอยู่บนพื้นฐานขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
     การออกแบบงานกราฟิกและสื่อ ควรจะต้องคำนึงถึงหลักการ ดังนี้
1.  ความมีเอกภาพ (unity)
       2.  ความกลมกลืน (harmony)
       3.  ความมีสัดส่วนที่สวยงาม (propertion) 
       4.  ความมีสมดุล  (balance)
5. ความมีจุดเด่น (emphasis)งานกราฟิกเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อที่ต้องการการสัมผัสรับรู้ด้วยตา ได้แก่ หนังสือ นิตยสาร วารสาร แผ่นป้ายบรรจุภัณฑ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว โทรทัศน์ โฆษณา ภาพยนต์ ฯลฯ นักออกแบบจะใช้วิธีการทางศิลปะและวิธีการทางการออกแบบร่วมกันสร้างรูปแบบสื่อ เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการที่จะเป็นตัวกลางในการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
วิธีการออกแบบและวิธีแก้ปัญหาการออกแบบ โดยการนำเอารูปภาพประกอบ ภาพถ่าย สัญญลักษณ์ รูปแบบ ขนาดตัวอักษร มาจัดวางเพื่อให้เกิดการนำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน เกิดผลดีต่อกระบวนการสื่อความหมาย

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

สนุกไปกับคณิตศาสตร์

นาฬิกาบอกเวลา

      นาฬิกา  เป็นเครื่องมือในการบอกเวลา  ซึ่งจะบอกเวลาเป็นนาฬิกาและนาที  การเขียนบอกเวลา  นิยมใช้จุดคั่นระหว่างตัวเลขที่บอกเวลาเป็นชั่วโมงกับนาที  และใช้ น.”  เป็นอักษรย่อของคำว่า นาฬิกา
การบอกเวลาบนหน้าปัดนาฬิกามีหลายวิธี เช่น บอกโดยเข็มยาวและเข็มสั้นหรือบอกโดยใช้ตัวเลข  นาฬิกาที่บอกเวลาโดยใช้เข็ม เข็มสั้นจะบอกเวลาเป็นชั่วโมง       เข็มยาวบอกเวลาเป็นนาที นาฬิกาที่บอกเวลาโดยใช้ตัวเลข ตัวเลขที่อยู่หน้าจุด  บอกเวลาเป็นนาฬิกา ตัวเลขที่อยู่หลังจุด  บอกเวลาเป็นนาที